อาเซียน

เกี่ยวกับอาเซียน

 กำเนิดอาเซียน
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง  5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม  มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ  รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)  นายเอส  ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538)  ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน  คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

โครงสร้างและกลไกการดำเนินงาน
นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัดทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือในรายละเอียดมากขึ้น

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน
1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat  ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน  มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

ประวัติแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล

   ประวัติแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล

พ.ศ. 2485  คณะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาในพระปรมาภิไธย   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  ให้แยกคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล   คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์  จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์   มีฐานะเป็นกรมขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุข จนถึง พ.ศ. 2502     มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์จึงได้ย้ายมาสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี

 

พ.ศ. 2494   องค์การร่วมมือทางเศรษฐกิจของรัฐบาลอเมริกา   ได้เข้าช่วยเหลือในด้านการศึกษาแพทย์และพยาบาลของประเทศไทยโดยให้ทุนอาจารย์เพื่อออกไปศึกษาวิชาเพิ่มเติม ณ สหรัฐอเมริกา ในทุก ๆ สาขา และในเวลาเดียวกันนี้เององค์การช่วยเหลือการแพทย์ประเทศจีน แห่งนิวยอร์ค (China Medical Board of New York)  ได้สนใจโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์             ผู้อํานวยการขององค์การได้เข้ามาเยี่ยมโรงเรียนแพทย์ และเมื่อได้ทราบความต้องการของโรงเรียนแล้ว จึงได้ตกลงให้ความช่วยเหลือการศึกษาในด้านที่องค์การของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือไปไม่ถึง เช่น  หอสมุด  เครื่องมือเครื่องใช้ในการสอน การวิจัย และให้ทุนสําหรับอาจารย์เพื่อออกไปศึกษาเพิ่มเติมในแขนงวิชาพิเศษบางวิชา องค์การช่วยเหลือการแพทย์ฯนี้ยังให้ความช่วยเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันน

         คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลได้เปิดหลักสูตรปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิต โดยเน้นด้านการวิจัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 เมื่อแพทยสภามีนโยบายให้มีโครงการอบรมแพทย์เพื่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง โดยมีหลักสูตรชัดเจน ในปี 2512 คณะฯจึงได้เริ่มการฝึกอบรมตามนโยบายดังกล่าว โดยเริ่มฝึกอบรมรุ่นแรกในปี 2512 การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาต่าง ๆ กำหนดเวลา 3 ปี และเริ่มมีการสอบเพื่อรับ “วุฒิบัตรผู้มีความรู้ความชำนาญ” ครั้งแรก ใน พ.ศ. 2514 ใน 10 สาขาได้แก่ อายุรศาสตร์ เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ศัลยศาสตร์ ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์ วิสัญญีวิทยา สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา รังสีวิทยา จักษุวิทยา และกุมารเวชศาสตร์

         มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้พระนามาภิไธย “มหิดล” เป็นนามใหม่ของมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่  21 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2512 และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2512 ขึ้น ในครั้งนี้คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลได้รับชื่อใหม่ว่า “คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล” มหาวิทยาลัยมหิดล สํานักนายก รัฐมนตรี จนถึง พ.ศ. 2514     จึงเป็นคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ทบวงมหาวิทยาลัย

         พ.ศ. 2523 คณะฯได้ปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตใหม่  เป็นเตรียมแพทย์ 1 ปี ปรีคลินิก 2 ปี และคลินิก 3 ปี รวมเป็นระยะเวลาการศึกษาทั้งหมด 6 ปี   ผู้จบตามหลักสูตรนี้จะมีความสามารถเท่าแพทย์ฝึกหัดเดิมซึ่งต้องศึกษาและฝึกอบรมรวม 7 ปี (เตรียมแพทย์ 2 ปี ปรีคลินิก 2 ปี คลินิก 2 ปี และแพทย์ฝึกหัด 1 ปี) หลักสูตรใหม่นี้เริ่มใช้กับนักศึกษาแพทย์ศิริราชตั้งแต่รุ่นที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยในปีการศึกษา  2522  ซึ่งจบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต  พร้อมทั้งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมในพ.ศ. 2528 โดยไม่ต้องเป็นแพทย์ฝึกหัด

         ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 และ 2546 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรอีก แต่ยังคงใช้โครงสร้าง 1: 2 : 3 ทั้ง 2 ครั้ง  ในช่วงนี้เองทางแพทยสภาได้กำหนดให้นักศึกษา
ที่เข้าศึกษาวิชาแพทยศาตร์ตังแต่ปีการศึกษา 2546 จะต้องสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม
 โดยกำหนดให้มีการประเมินและรับรอง
ความรู้ความสามารถ 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 การประเมินความรู้ทางด้านวิทยศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน (Basic Medical Science)  ซึ่งนักศึกษาแพทย์ ได้รับ
ความรู้จากการศึกษาในระดับ เตรียมแพทย์และปรีคลีนิก และขั้นตอนที่ 2 การประเมินความรู้ความสามารถ ด้านวิทยศาสตร์การแพทย์คลีนิก (Clinical Science)  ซึ่งเป็นการวัดความรู้ระดับคลีนิกโดยสาระของการสอบจะอิงตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแพทยสภาฉบับ พ.ศ. 2545

แจ้งข่าวการสอบตำรวจปี54

สอบตํารวจ 2554
ข่าวสดและใหม่ที่ จ่าเมืองเหนือนำมาฝากกันคับ วันนี้ประชุมเรียบร้อยแล้ว
เมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2554 เวลา 13.30 น. ที่กองบัญชาการศึกษา มีการ ประชุมการพิจารณาหาแนวทางการดำเนินการจัดการวางแผนกระบวนการรับสมัครเพื่อ บรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการตำรวจให้สอดคล้องกับแผนบริหารงบประมาณและแผน กำลังพลทั้งระบบตามมติที่ประชุม อ.ก.ตร. บริหารบุคคล ครั้งที่ 12/2553 โดยประกอบด้วย ผู้แทนของตำรวจภูธรภาค 1-9,ศชต.,สกพ.,สงป.,กมค.,สง.ก.ตร.,รพ.ตร,รร.นรต.,ทว.และ บช.ศ. เข้าร่วมประชุม โดยมี พล.ต.ท.สันติ เพ็ญสูตร ผบช.ศ. เป็นประธาน
กอง การสอบ ได้นำเสนอร่างแผนการรับสมัครและสอบแข่งขันบุคคลภายนอก ผู้มีวุฒิปริญญาตรีเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 โดยได้กำหนดช่วงระยะ เวลาการรับสมัคร จนถึงการประกาศการสอบรอบสุดท้ายในช่วงระหว่าง ปลายเดือนกุมภาพันธ์ – สิงหาคม 2554 ส่วนยอดจำนวนอัตราที่จะเปิดรับสมัคร สำนักงานกำลังพลได้เสนอ ตร.เพื่อขออนุมัติจำนวน 6,600 อัตรา
กองการสอบ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ที่สนใจที่จะสอบเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ทราบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 จะ มีการเปิดรับสมัครบุคคลภายนอกผู้มีวุฒิปริญญาตรีเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็น ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน จำนวน 6,600 อัตรา ช่วงเวลาในการรับสมัครสอบถึงประกาศผลรอบสุดท้าย อยู่ระหว่างปลายเดือน กุมภาพันธ์ – สิงหาคม พ.ศ. 2554 สำหรับคุณสมบัติผู้สมัครสอบ จำนวนที่แต่ละหน่วย (ส่วนกลาง, ภาค 1-9, ศชต.) ได้รับจัดสรรและกำหนดวันเวลาที่แน่นอนจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบต่อไป
เป็น ข่าวที่ดี ข่าวหนึ่งในปี 2554 ที่จะได้ต้อนรับน้องใหม่ 6,600 คน มาช่วยทำงานกัน รุ่นนี้ ปลดล็อคแล้ว พ้น 2 ปี ก็สอบนายตำรวจได้ ตามมติ ก.ต.ช.นะครับ พี่ๆ ก็รีบสอบให้ได้ก่อนนะครับ ไล่หลังมาอีกเยอะเลย
คาดว่ายอดผู้สมัครสอบทุกสายทะลุหลัก 100,000 กว่าคนแน่นอนครับ

องประกอบของดนตรี

                 องประกอบของดนตรี

   ดนตรีเป็นศิลปะของเสียงที่เกิดจากความพากเพียรของมนุษย์ในการสร้างเสียงให้อยู่ในระเบียบของ จังหวะ,ทำนอง,พื้นผิวของเสียง,สีสันของเสียง,คีตลักษณ์ (เหล่านี้เป็นแนวคิดของดนตรีตะวันตก) เมื่อนำมาวิเคราะห์ดูก็จะเห็นว่า ดนตรีไม่ว่าจะเป็นของชาติใด ภาษาใด ล้วนมีพื้นฐานมาจากส่วนต่างๆ เหล่านี้ทั้งสิ้น ความแตกต่างในรายละเอียดของแต่ละวัฒนธรรมนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่การที่จะแตกต่างกันอย่างไรนั้น กรอบวัฒนธรรมของแต่ละสังคมจะเป็นปัจจัยที่กำหนดให้ตรงตามรสนิยมของแต่ละวัฒนธรรม จึงเป็นผลให้สามารถแยกแยะดนตรีของชาติหนึ่งแตกต่างจากดนตรีของอีกชาติหนึ่งได้ ดังนั้นในการศึกษาองค์ประกอบของดนตรีไทย ถ้าพิจารณา ในหลักการที่กล่าวมา จะได้รายละเอียดดังนี้
๑.เสียง (Tone) คีตกวีสามารถสร้างเสียงที่หลากหลายโดยอาศัยวิธีการผลิตเสียงเป็นปัจจัยกำหนด เช่น การดีด การสี การตี การเป่า เป็นต้น เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเสียงอึกทึกหรือเสียงรบกวน (Noise) เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ลักษณะความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กบคุณสมบัติสำคัญ๔ประการ คือ ระดับเสียงความยาวของเสียงความเข้มของเสียง, คุณภาพของเสียง
๑.๑ระดับเสียง (Pitch) หมายถึง ระดับความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดการจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือน กล่าวคือ ถ้าเสียงที่มีความถี่สูง ลักษณะการสั่นสะเทือนเร็ว จะส่งผลให้มีระดับเสียงสูง แต่ถ้าหากเสียงมีความถี่ต่ำ ลักษณะการสั่นสะเทือนช้าจะส่งผลให้มีระดับเสียงต่ำ
๑.๒ความสั้น-ยาวของเสียง(Duration) หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว และตัวดำ เป็นต้น สำหรับในดนตรีไทยนั้น แต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลัก แต่ย่างไรก็ตาม การสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอก ฆ้องวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ
๑.๓ความเข้มของเสียง(Intensity) ความเข้มของสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนักเบาของเสียง ความเข้มของเสียงจะเป็นคุณสมบัติที่ก่อประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มีลีลาจังหวะที่สมบูรณ์ ในกรณีของดนตรีไทยปรากฏอย่างเด่นชัดในเพลงเชิดจีน
๑.๔คุณภาพของเสียง(Quality) เกิดจากคุณภาพของแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของเสียงเกิดความแตกต่างกันนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วิธีการผลิตเสียง รูปทรงของแหล่งกำเนิดเสียง และวัสดุที่ใช้ทำแหล่งกำเนิดเสียง เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะคุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะสีสันของสียง (Tone Color) ระหว่างเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งกับเครื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน
๒.พื้นฐานจังหวะ (Element of Time)
จังหวะเป็นศิลปะของการจัดระเบียบเสียง ที่เกี่ยวข้องกับความช้าเร็ว ความหนักเบาและความสั้น-ยาว องค์ประกอบเหล่านี้ หากนำมาร้อยเรียง ปะติดปะต่อเข้าด้วยกันตามหลักวิชาการเชิงดนตรีแล้ว สามารถที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดลีลาจังหวะอันหลากหลาย ในเชิงจิตวิทยา อิทธิพลของจังหวะที่มีผลต่อผู้ฟังจะปรากฏพบในลักษณะของการตอบสนองเชิงกายภาพ เช่น ฟังเพลงแล้วแสดงอาการกระดิกนิ้ว ปรบมือร่วมไปด้วย เป็นต้น
  จังหวะในดนตรีไทย สามารถแยกพิจารณาได้ ๒ ประเภท คือ จังหวะภายในและจังหวะภายนอก
๒.๑ จังหวะภายใน
จังหวะภายในเป็นจังหวะที่เกื้อหนุนและแฝงอยู่ในลีลาทำนองได้แก่ ความช้า-เร็ว (Tempo) และลีลาจังหวะ (Rhythm)
ความช้าเร็ว(Tempo) เป็นส่วนหนึ่งของจังหวะที่เกี่ยวข้องกับอัตราความช้าเร็ว (Speed) ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตก ความช้าเร็วของบทเพลงจะถูกระบุไว้อย่างชัดเจน เช่น Presto ( เร็วมาก) Moderato ( เร็วปานกลาง) Lento ( ช้า) และ Grave (ช้าเฉื่อย) เป็นต้น โดยอาศัยเมโทรโนม (Metronome) เป็นเครื่องกำหนดจังหวะมาตรฐาน แต่สำหรับดนตรีไทยนั้น ความช้าเร็วของบทเพลงไม่ได้มีการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว ดังเช่นในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตก เป็นแต่เพียงการตกลงร่วมกันในหมู่นักดนตรีว่าต้องการให้มีความช้าเร็วเพียงใด ดังนั้นจึงปรากฏพบว่าเพลงเพลงเดียวกันบรรเลงโดยนักดนตรีคนละกลุ่มจะมีความเร็วที่แตกต่างกัน เช่น ในกรณีของเพลงเถา เพลงสามชั้น สองชั้นและชั้นเดียว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อัตราของความช้าเร็ว ทั้งในดนตรีตะวันตกและดนตรีไทยต่างก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจำนวนความถี่ของจังหวะเคาะต่อระยะเวลาที่เท่ากัน โดยมี จังหวะเคาะ (Beat) เป็นมาตราส่วนที่ใช้วัดหรือกำหนดความสั้น-ยาวของเสียงที่เคลื่อนที่ไป การเคลื่อนที่ของจังหวะเคาะจะเป็นอัตราที่สัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจังหวะที่เคลื่อนไปนั้นจะช้าหรือเร็วเพียงใด จังหวะเคาะจัดได้ว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่ง เพราะหากผู้ที่ฝึกหัดดนตรี ขาดพื้นฐานจังหวะเคาะที่ดี จะไม่สามารพัฒนาไปสู่ความเป็นนักดนตรีที่ดีได้ส่วน
ลีลาจังหวะ(Rhythm) เป็นศิลปะของการจัดระเบียบ ความหนัก-เบา (Accent) และความสั้นยาว (Duration) ของเสียง เสียงสั้นๆ ยาวๆ หรือเสียงหนักๆ เบาๆ จะประกอบอยู่ในส่วนประโยคและสลับสับเปลี่ยนกันไป ในวิถีแห่งการดำเนินของเพลงควบกับจังหวะ ดำเนินเป็นระยะๆ ตามแบบของการประพันธ์เพลง ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบจังหวะทั้งในส่วนของจังหวะเคาะ ( Beat) ความหนัก-เบา (Accent) และความสั้น-ยาว (Duration) เมื่อนำมารวมกันจะทำให้อรรถรสที่หลากหลายและงดงาม
๒.๒ จังหวะภายนอก 
จังหวะภายนอกเป็นจังหวะเสริมเพิ่มเติมจากภายนอก สามารถแยกได้จากลีลาของทำนอง จังหวะภายในที่มีเครื่องดนตรีประเภทสร้างทำนองหรือเสียงร้องทำหน้าที่เป็นสื่อผลิต โดยที่จังหวะภายนอกเป็นจังหวะที่เพิ่มเติมให้กับลีลาทำนองได้มีสีสันมากขึ้น จังหวะภายนอกของดนตรีไทย มีเครื่องดนตรีประเภทใช้ทำจังหวะเป็นสื่อผลิตเสียง โดยสามารถแยกเป็น ๒ ประเภท คือ จังหวะฉิ่งและจังหวะหน้าทับ
จังหวะฉิ่ง เป็นจังหวะที่เกิดจากการกระทำของฉิ่ง มีระเบียบการบรรเลงแตกต่างกันไป ตามลักษณะประเภทของเพลงและสำเนียงของเพลง ถึงแม้ว่าฉิ่งจะมีศักยภาพในการผลิตเสียงเพียง ๒ เสียง คือ เสียง “ ฉิ่ง” และเสียง “ ฉับ” ก็ตามที แต่ในเชิงปฏิบัติแล้ว การสลับสับเปลี่ยนระหว่างเสียงฉิ่งและฉับที่เปลี่ยนไปตามลีลาของเพลงและสำเนียง ทำให้สามารถสร้างรูปแบบของการบรรเลงได้อย่างหลากหลาย
จังหวะหน้าทับ เป็นจังหวะที่เกิดจากการกระทำของเครื่องหนังหรือกลอง ความหนัก-เบาของเสียงที่ผลิตหมุนเวียน สลับสับเปลี่ยนกันไปมานั้น มีผลอย่างมากต่อการสร้างสีสันในแก่บทเพลง แต่เดิมทีเดียววัตถุประสงค์หลักของหน้าทับ มีไว้เพื่อวัดขนาดของบทเพลงว่า ขาดหรือเกินหรือไม่ หน้าทับที่ใช้บรรเลงในดนตรีไทยมีหลายประเภท ตัวอย่างเช่น หน้าทับปรบไก่ หน้าทับสองไม้ เป็นต้น
๓.ทำนอง (Melody)ทำนองเป็นการจัดระเบียบของเสียงที่เกี่ยวข้องกับความสูง-ต่ำ ความสั้น-ยาว และความดัง-เบา คุณสมบัติเหล่านี้เมื่อนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของความช้า-เร็ว จะเป็นองค์ประกอบของดนตรีที่ผู้ฟังสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุดในเชิงจิตวิทยา ทำนองจะกระตุ้นผู้ฟังในส่วนของสติปัญญา ทำนองจะมีส่วนสำคัญในการสร้างความประทับใจ จดจำ และแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพลงหนึ่งกับอีกเพลงหนึ่ง
ทำนองของดนตรีไทยสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทด้วยกัน คือ ทำนองหลักและทำนองตกแต่ง
๓.๑ทำนองหลัก (Basic Melody)
ทำนองหลักเป็นเนื้อทำนองที่แท้จริงของเพลงไทย ในหมู่นักดนตรีไทยเรียกกันว่า “ลูกฆ้อง”(ทางฆ้อง) ที่เรียกว่าลูกฆ้อง(ทางฆ้อง)นั้น เป็นการเรียกตามวิธีการแต่งเพลงไทยที่ครูอาจารย์ผู้ประพันธ์จะอาศัยการประดิษฐ์ทำนอง โดยยึดลีลาของทำนองฆ้องวงใหญ่เป็นหลัก ตลอดทั้งตามระเบียบวิธีขณะที่กำลังบรรเลงดนตรีไทย ผู้บรรเลงเครื่องดนตรีชนิดอื่นจะต้องยึดถือทำนองของฆ้องวงใหญ่เป็นหลัก
๓.๒ทำนองตกแต่ง       ทำนองตกแต่งเป็นการประดิษฐ์ตกแต่ง ประดับประดาทำนองหลักหรือลูกฆ้องให้มีความไพเราะเหมาะสมกับเครื่องดนตรีแต่ละประเภท กระบวนการตกแต่งทำนองให้ไพเราะและเหมาะสมกับเครื่องดนตรีแต่ละเครื่องนี้เรียกว่า “ การแปรทำนอง” วัฒนธรรมดนตรีตะวันตกและดนตรีไทย มีลักษณะความแตกต่างที่เด่นชัด คือ วิธีการสร้างทำนอง ในดนตรีตะวันตกนั้น การสร้างทำนองจะกระทำโดยผู้ประพันธ์เพลง โดยผู้ประพันธ์เพลงจะแยกแยะลีลาทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้อย่างสมบูรณ์ นักดนตรีเพียงทำหน้าที่ใช้ความสามารถถ่ายทอดโน้ตผ่านสื่อเครื่องดนตรีออกมาเป็นเสียง ในขณะที่วัฒนธรรมดนตรีไทยนั้น กระบวนการสร้างทำนองเกิดจากบุคคล ๒ กลุ่ม คือ ผู้ประพันธ์ทำนองหลักและนักดนตรีผู้แปรทำนอง ตามระเบียบวิธีการของการบรรเลงดนตรีไทย ผู้บรรเลงเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ จะใช้ภูมิปัญญา ปฏิภาณไหวพริบ และทักษะประดับตกแต่งทำนองลูกฆ้องให้เหมาะสมกับทาง (ลีลา) ของเครื่องดนตรีที่ตนกำลังบรรเลงอยู่ โดยยึดกรอบของทำนองลูกฆ้องเป็นเกณฑ์ ลีลาการบรรเลงของเครื่องดนตรีที่ต่างกันนี้เรียกว่า “ ทาง” เช่น ทางระนาดเอก ทางระนาดทุ้ม ทางซอด้วง เป็นต้น
ธรรมเนียมในการบรรเลงดนตรีไทยที่ยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องมานั้น แต่ละท่อนจะบรรเลงซ้ำ ๒ เที่ยว ดังนั้นจึงพบว่าในขณะที่นักดนตรีบรรเลงซ้ำทำนองในเที่ยวที่ ๒ นั้น มักจะเดินทำนองหรือทางที่ไม่ซ้ำกับทำนองที่บรรเลงในเที่ยวแรก การบรรเลงในลักษณะเช่นนี้ เป็นการจงใจของนักดนตรีเอง เป็นลักษณะที่โดดเด่นและภาพลักษณ์อันงดงามของดนตรีไทย อักทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาไทยได้อย่างดียิ่ง
ในกรณีที่เป็นการตกแต่งทำนองร้อง จะต้องคำนึงถึงทำนองที่แท้จริงของเพลงและคำร้อง ในทางปฏิบัติ ทำนองทางร้องได้แก่ การนำเอาทำนองหลัก(ทางฆ้อง)มาปรุงแต่งให้เหมาะสมกับระบบเสียงทางภาษาศาสตร์ เช่น วรรณยุกต์เสียงเอก โท ตรี จัตวา หรือสระเสียงสั้น เสียงยาว เป็นต้น จึงหมายความว่า นอกจากจะคำนึงถึงความถูกต้องด้านขนาดความสั้นยาวและสูงต่ำของทำนองร้องแล้ว ความถูกต้องสมบูรณ์ในด้านเนื้อของคำร้องก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
๔.พื้นผิวของเสียง (Texture)
ในเชิงดนตรีนั้น “ พื้นผิว” หมายถึง ลักษณะหรือรูปแบบของเสียงทั้งที่ประสานสัมพันธ์และไม่ประสานสัมพันธ์ โดยอาจจะเป็นการนำเสียงมาบรรเลงซ้อนกันหรือพร้อมกัน ซึ่งอาจพบทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ตามกระบวนการประพันธ์เพลง ผลรวมของเสียงหรือแนวทั้งหมดเหล่านั้น จัดเป็นพื้นผิวตามนัยของดนตรีทั้งสิ้น ลักษณะรูปแบบพื้นผิวของเสียงมีอยู่หลายรูปแบบ ดังนี้
๔.๑Monophonic Textureเป็นลักษณะพื้นผิวของเสียงที่มีแนวทำนองเดียว ไม่มีเสียงประสาน พื้นผิวเสียงในลักษณะนี้ถือเป็นรูปแบบการใช้แนวเสียงของดนตรีในยุคแรกๆ ของดนตรีในทุกวัฒนธรรม ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตก ดนตรีประเภทมีแนวทำนองเดียวได้มีพัฒนาการมาจากเพลงสวดในศาสนพิธีของชาวคริสเตียน ซึ่งเรียกว่าเพลงชานท์ ( Chant หรือ Plainsong) หากพิจารณาในส่วนของดนตรีไทยแล้ว เพลงที่มีแนวทำนองเดียว เช่น การขับร้องเพลงไทย การเดี่ยวซอด้วง และการเดี่ยวปี่ เป็นต้น
๔.๒PolyphonicTextureเป็นลักษณะพื้นผิวของเสียงที่ประกอบด้วยแนวทำนองตั้งแต่สองแนวทำนองขึ้นไป โดยแต่ละแนวมีความเด่นและเป็นอิสระจากกัน ในขณะที่ทุกแนวสามารถประสานกลมกลืนไปด้วยกัน ลักษณะแนวเสียงประสานในรูปของ Polyphonic Texture มีวิวัฒนาการมาจากเพลงชานท์ (Chant) ซึ่งมีพื้นผิวเสียงในลักษณะของเพลงทำนองเดียว (Monophonic Texture) ภายหลังได้มีการเพิ่มแนวขับร้องเข้าไปอีกหนึ่งแนว แนวที่เพิ่มเข้าไปใหม่นี้จะใช้ระยะขั้นคู่ ๔ และคู่ ๕ และดำเนินไปในทางเดียวกับเพลงชานท์เดิม การดำเนินทำนองในลักษณะนี้เรียกว่า “ ออร์กานุ่ม” (Orgonum) นับได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้นของการประสานเสียงแบบ Polyphonic Texture หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นมา แนวทำนองประเภทนี้ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปมาก ซึ่งเป็นระยะเวลาที่การสอดทำนอง (Counterpoint) ได้เข้าไปมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการตกแต่งพื้นผิวของแนวทำนองแบบ Polyphonic Texture
๔.๓ Homophonic Texture
เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียง ที่ประสานด้วยแนวทำนองแนวเดียว โดยมี กลุ่มเสียง (Chords) ทำหน้าที่สนับสนุนในคีตนิพนธ์ประเภทนี้ แนวทำนองมักจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงสูงที่สุดในบรรดากลุ่มเสียงด้วยกัน ในบางโอกาสแนวทำนองอาจจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงต่ำได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าคีตนิพนธ์ประเภทนี้จะมีแนวทำนองที่เด่นเพียงทำนองเดียวก็ตาม แต่กลุ่มเสียง (Chords) ที่ทำหน้าที่สนับสนุนนั้น มีความสำคัญที่ไม่น้อยไปกว่าแนวทำนอง การเคลื่อนที่ของแนวทำนองจะเคลื่อนไปในแนวนอน ในขณะที่กลุ่มเสียงสนับสนุนจะเคลื่อนไปในแนวตั้ง ลักษณะของกลุ่มเสียง (Chords) นี้ ไม่พบในการบรรเลงดนตรีไทยตามปกติและดั้งเดิม แต่อาจพบได้ในการบรรเลงในปัจจุบัน สำหรับผู้บรรเลงดนตรีไทยที่นำเอาความรู้ด้านการผสมกลุ่มเสียง (Chords) มาใช้
๔.๔ Heterophonic Texture
เป็นรูปแบบของแนวเสียงที่มีทำนองหลายทำนอง แต่ละแนวมีความสำคัญเท่ากันทุกแนว คำว่า Heteros เป็นภาษากรีก หมายถึงแตกต่างหลากหลาย ลักษณะการผสมผสานของแนวทำนองในลักษณะนี้ เป็นรูปแบบการประสานเสียงในวัฒนธรรมดนตรีไทย ในการบรรเลงดนตรีไทยแนวหลายแนว ซึ่งอาจจะบรรเลงโดยระนาดเอก ระนาดทุ้ม ขลุ่ย ต่างมีอิสระในการสร้างลีลาของทำนองตามธรรมชาติของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง แต่จะต้องอยู่ในกรอบของทำนองหลัก (ลูกฆ้อง) ร่วมกัน
๕. สีสันของเสียง (Tone Color)
“ สีสันของเสียง” หมายถึง คุณลักษณะของเสียงที่กำเนิดจากแหล่งเสียงที่แตกต่างกัน แหล่งกำเนิดเสียงดังกล่าว เป็นได้ทั้งที่เป็นเสียงร้องของมนุษย์และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ความแตกต่างของเสียงร้องมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพศชายกับเพศหญิง หรือระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานของการแตกต่างทางด้านสรีระ เช่น หลอดเสียงและกล่องเสียง เป็นต้น
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีนั้น ความหลากหลายด้านสีสันของเสียง ประกอบด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันหลายประการ เช่น วิธีการบรรเลง วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี รวมทั้งรูปทรง และขนาด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลโดยตรงต่อสีสันของเสียงเครื่องดนตรี ทำให้เกิดคุณลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันออกไป
๕.๑วิธีการบรรเลงวิธีการผลิตเสียงของเครื่องดนตรีไทย อาศัยวิธีดีด สี ตี และเป่า วิธีการผลิตเสียงดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยให้เครื่องดนตรีมีคุณลักษณะของเสียงที่ต่างกัน พิจารณาจากภาพรวม ด้านคุณลักษณะของเสียงจะสามารถแยกออกเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่มีเสียงราบเรียบ เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ ได้แก่ เครื่องเป่าและเครื่องสี เช่น ปี่ ขลุ่ย ซอ โดยธรรมชาติของการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ตราบใดที่นักดนตรียังสามารถผ่อนลมเข้าออกให้หมุนเวียนไปมา (ระบายลม) กระแสเสียงก็จะถูกผลิตออกมาอย่างราบเรียบและต่อเนื่อง ในลักษณะที่คล้ายกันของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี หากนักดนตรีที่สีซอยังลากคันชักเข้าออกสัมผัสกับสายซอโดยไม่หยุดพัก กระแสเสียงที่ผลิตออกมาจะมีความราบเรียบและต่อเนื่อง เปรียบประดุจกับลีลาของการลากเส้นลงบนแผ่นกระดาษ หากลาเส้นโดยไม่หยุดชะงัก เส้นที่ได้จะเป็นแนวที่ต่อเนื่อง
กลุ่มที่มีเสียงไม่ราบเรียบ เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องตีและเครื่องดีด ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่และจะเข้ เป็นต้น โดยธรรมชาติแล้วเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้ หากตีหรือดีดหนึ่งครั้ง จะผลิตเสียงได้เพียงหนึ่งเสียง และเสียงที่ผลิตออกมานั้นจะเป็นเสียงสั้นๆ ดังนั้น หากต้องการผลิตเสียงยาวจำเป็นจ้องตีหรือดีดหลายครั้ง ตามขนาดความยาวของจังหวะที่ต้องการ คุณค่าของอรรถรสที่ผู้ฟังพังได้รับ จึงอยู่ที่เสียงของการดีดหรือตีที่พรั่งพรูออกมาอย่างถี่ละเอียด และต่อเนื่องดุจเป็นสายแห่งเส้นเสียงเดียวกัน
๕.๒ วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี
วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีของแต่ละวัฒนธรรมจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของสังคมและยุคสมัย วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีที่แตกต่างกัน นับเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในด้านสีสันของเสียง สำหรับเครื่องดนตรีไทยนั้น วัสดุส่วนมากเป็นวัสดุที่เป็นผลิตผลจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่และกะลามะพร้าว เป็นต้น ดังนั้น กระแสเสียงที่ผลิตจากเครื่องดนตรีไทย จึงมีสีสันที่นุ่มนวล ประสานกลมกลืนกับสภาพวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยได้อย่างดียิ่ง
๕.๓ ขนาดและรูปทรง
ลักษณะของเครื่องดนตรีที่มีรูปทรงและขนาดที่แตกต่างกัน จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างกันในด้านสีสันของเสียงในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กัน
๖. คีตลักษณ์ (Forms)
คีตลักษณ์หรือรูปแบบของเพลง เปรียบเสมือนกรอบที่หลอมรวมเอาจังหวะ ทำนอง พื้นผิว และสีสันของเสียงให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน เพลงที่มีขนาดสั้น-ยาว วนกลับไปมา ล้วนเป็นสาระสำคัญของคีตลักษณ์ทั้งสิ้น ในกรณีของเพลงไทย คีตลักษณ์สามารถพิจารณาได้จากลักษณะดังนี้
รูปแบบของเพลง รูปแบบของเพลงเป็นส่วนที่เป็นกรอบภายนอก การที่เพลงจะสั้น-ยาว มีกี่ท่อน มีอัตราจังหวะที่ช้า-เร็วอย่างไร เท่าใด ล้วนเป็นบทบาทที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของเพลง รูปแบบเพลงไทยที่สำคัญ เช่น เพลงเถา เพลงตับ เพลงลา และเพลงโหมโรง เป็นต้น
ลีลาของเพลง ในดนตรีไทย ลีลาของเพลงจะมีความเกี่ยวข้องกับวิธีการที่ผู้ประพันธ์เพลงใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น เพลงลูกล้อลูกขัด เพลงเก็บ เพลงกรอ เป็นต้น

ทฤษฎีดนตรีไทย

ตัวโน้ต
โน้ตใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนดนตรี ใช้เป็นตัวกลางสื่อเสียงดนตรีให้มีความเข้าใจตรงกันระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน และยังเป็นสัญลักษณ์ให้นักเรียน บันทึกบทเพลง เพื่อใช้เป็นการทบทวนด้วยตนเองได้ 
โน้ตตัวพยัญชนะ ที่ใช้เรียนดนตรีไทย มีสัญลักษณ์แทนเสียงดังนี้ 

ด แทนเสียง โด
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงโดสูง ดํ มีจุดข้างล่างหมายถึงโดเสียงต่ำ ดฺ
ร แทนเสียง เร
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงเรสูง รํ มีจุดข้างล่างหมายถึงโดเสียงต่ำ รฺ

ม แทนเสียง มี
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียง มีเสียงสูง มํ มีจุดข้างล่างหมายถึง มีเสียงต่ำ มฺ

ฟ แทนเสียง ฟา
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงฟาสูง ฟํ มีจุดข้างล่างหมายถึงฟา เสียงต่ำ ฟฺ

ซ แทนเสียง ซอล
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงซอล สูง ซํ มีจุดข้างล่างหมายถึงซอล เสียงต่ำ ซฺ

ล แทนเสียง ลา
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงลา สูง ลํ มีจุดข้างล่างหมายถึงลาเสียงต่ำ ลฺ

ท แทนเสียง ที
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงที สูง ทํ มีจุดข้างล่างหมายถึงที เสียงต่ำ ทฺ

ห้องเพลงที่ใช้บันทึก

๑ . หนึ่งบรรทัดมี แปด ห้องเพลง

– – – –

– – – –

– – – –

– – – –

– – – –

– – – –

– – – –

– – – –

๒. หนึ่งห้องเพลง มี สี่ตัวโน้ต (ขั้นพื้นฐาน)

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๒ ๓ ๔

๓ . ใช้เส้นน้อยแทน ตัวโน้ตในห้อง

– – – –

– – – –

– – – –

– – – –

– – – –

– – – –

– – – –

– – – –

 

* โน้ตใน ๑ ห้องเพลงสามารถมีมากกว่า ๔ ตัวโน้ตได้ เป็นการอ่านโน้ตในระดับสูงขึ้น *

 เทคนิคการอ่านโน้ตของดนตรีไทย

๑ เคาะจังหวะสามัญ (จังหวะอย่างสม่ำเสมอ แบบ ช้า )

๒ ตัวโน้ตที่ ๔ ของห้องจะอ่านพร้อมจังหวะเคาะ

 การอ่านโน้ตแบบต่างๆ

ตัวโน้ต จบพร้อมจังหวะ

– – – ดฺ

– – – รฺ

– – – มฺ

– – – ฟ

– – – ซ

– – – ล

– – – ทํ

– – – ดํ


 แบบ ๑ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)

 

ดฺ – – –

รฺ – – –

มฺ – – –

ฟ – – –

ซ – – –

ล – – –

ทํ – – –

ดํ – – –

แบบ๒ ตัวโน้ต จบพร้อมจังหวะ

– ดฺ – ร

– ม – ฟ

– ซ – ล

– ท – ดํ

– ดํ – ท

– ล – ซ

– ฟ – ม

– ร – ดฺ

– ดฺ ร –

– ม ฟ –

– ซ ล –

– ท ดํ –

– ดํ ท –

– ล ซ –

– ฟ ม –

– ร ดฺ –

 แบบ๒ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)

ดฺ ดฺ – –

ร ร – –

ม ม – –

ฟ ฟ – –

ซ ซ – –

ล ล – –

ท ท – –

ดํ ดํ – –

 แบบ๒ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)  

– – ดฺ ดฺ

– – ร ร

– – ม ม

– – ฟ ฟ

– – ซ ซ

– – ล ล

– – ท ท

– – ดํ ดํ

  แบบ๒ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ

แบบ ๓ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ

– ดฺ ร ม

– ร ม ฟ

– ม ฟ ซ

– ฟ ซ ล

– ซ ล ท

– ล ท ดํ

– ท ดํ รํ

– ดํ รํ มํ

มํ รํ ดํ –

รํ ดํ ท –

ดํ ท ล –

ท ล ซ –

ล ซ ฟ –

ซ ฟ ม –

ฟ ม ร –

ม ร ดฺ –

 แบบ ๓ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)

ดฺ – ร ม

ร – ม ฟ

ม – ฟ ซ

ฟ – ซ ล

ซ – ล ท

ล – ท ดํ

ท – ดํ รํ

ดํ – รํ มํ

 แบบ ๓ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ

มํ รํ – ดํ

รํ ดํ – ท

ดํ ท – ล

ท ล – ซ

ล ซ – ฟ

ซ ฟ – ม

ฟ ม – ร

ม ร – ดฺ

 แบบ ๓ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ

ดฺ ร ม ฟ

ซ ล ท ดํ

ดํ ท ล ซ

ฟ ม ร ดฺ

ดฺ ร ม ฟ

ซ ล ท ดํ

ดํ ท ล ซ

ฟ ม ร ดฺ


แบบ๔ ตัวโน้ต บพร้อมจังหวะ

Hello world!

Welcome to WordPress.com. After you read this, you should delete and write your own post, with a new title above. Or hit Add New on the left (of the admin dashboard) to start a fresh post.

Here are some suggestions for your first post.

  1. You can find new ideas for what to blog about by reading the Daily Post.
  2. Add PressThis to your browser. It creates a new blog post for you about any interesting  page you read on the web.
  3. Make some changes to this page, and then hit preview on the right. You can alway preview any post or edit you before you share it to the world.